ปี 2560 ชื่อวิดิโอ “ทำอย่างไร ปลอดภัย จากวัณโรค”
วิดิโอ“ทำอย่างไรปลอดภัยจากวัณโรค (ภาษาล้านนา)” How to protect yourself from Tuberculosis? (Northern Thai language) Click here
วิดิโอ“ทำอย่างไรปลอดภัยจากวัณโรค (ภาษาอาข่า)” How to protect yourself from Tuberculosis? (Akha language) Click here
วิดิโอ“ทำอย่างไรปลอดภัยจากวัณโรค (ภาษาลาหู่)” How to protect yourself from Tuberculosis? (Lahu language) Click here
วิดิโอ“ทำอย่างไรปลอดภัยจากวัณโรค (ภาษาพม่า)” How to protect yourself from Tuberculosis? (Burmese language) Click here
ผู้ผลิตวิดิโอ มูลนิธิวิจัยวัณโรคและโรคเอดส์ โดยการสนับสนุนทุนจากสถาบันวิจั
กลุ่มเป้าหมาย ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค (contact cases)
วัตถุประสงค์ หลังจากที่กลุ่มเป้าหมายดูวิดิ
- มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับการติดต่อของวัณโรค
- สามารถระบุกลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรค
- ยอมรับการตรวจคัดกรอง วัณโรค และตรวจหาเอชไอวี
บทวิดิโอ
ทำอย่างไร จึงจะปลอดภัย จากวัณโรค?
- โรงพยาบาลได้ข้อมูลจากคนไข้วัณโรคว่า ท่านอยู่ใกล้ชิดกับคนไข้ ท่านจึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรค
- ท่านอาจรู้แล้วว่าคนไข้วัณโรคที่ใกล้ชิดท่านเป็นใคร แต่หากท่านยังไม่รู้ โรงพยาบาลจำเป็นต้องรักษาความลับของคนไข้ จึงไม่สามารถเปิดเผยชื่อของคนไข้แก่ท่านได้
- โรงพยาบาลมีหน้าที่ป้องกันวัณโรค จึงเชิญให้ท่านมารับการตรวจคัดกรองวัณโรค เพื่อสุขภาพของท่านและสุขภาพของส่วนรวม
วัณโรคคืออะไร?
- วัณโรค เป็นโรคติดต่อทางลมหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง
- เชื้อนี้อาศัยอยู่ในปอดของผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ได้รักษา ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อวัณโรคออกไปในอากาศ โดยการไอ, การจาม, การหัวเราะ หรือร้องเพลง
- เมื่อคนที่อยู่ใกล้ชิดสูดเอาอากาศที่มีเชื้อวัณโรคเข้าไป อาจเกิดการติดเชื้อวัณโรค และป่วยเป็นวัณโรคได้
- วัณโรคเป็นโรคที่รักษาให้หายได้
ใครเสี่ยงต่อวัณโรค?
คนที่เสี่ยงต่อวัณโรค ได้แก่
- คนที่อยู่บ้านหรือห้องเดียวกันกับคนไข้วัณโรค
- คนที่อยู่ใกล้ชิดกับคนไข้ ในที่ต่างๆ วันละหลายชั่วโมง ติดต่อกันหลายเดือน
- ความเสี่ยงที่จะป่วยหลังจากติดเชื้อ จะสูงมากหากคนที่อยู่ใกล้คนไข้วัณโรค
- เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ
- เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์
- เป็นโรคเบาหวาน, มะเร็ง, โรคไต
- เป็นคนที่ดื่มเหล้า, สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด
จะลดความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นวัณโรค ได้อย่างไร?
- รับการตรวจคัดกรองวัณโรค โดยการเอกซเรย์ปอด
- เด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ หากตรวจแล้ว ไม่เป็นวัณโรค จะได้รับยากินเพื่อป้องกันวัณโรค
- เด็กและเยาวชน อายุน้อยกว่า 18 ปี ผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับการตรวจการติดเชื้อวัณโรค ด้วยการฉีดน้ำยาที่ใต้ผิวหนัง หากติดเชื้อวัณโรค แต่ยังไม่ป่วย จะได้กินยาป้องกันวัณโรค
- ผู้ใกล้ชิดคนไข้วัณโรค ควรรับการตรวจเอชไอวี เพราะหากติดเชื้อเอชไอวี จะได้กินยาป้องกันวัณโรค และได้รับยาต้านไวรัสซึ่งจะช่วยลดการป่วยด้วยโรคติดเชื้อหลายชนิด
วัณโรค ป้องกันได้ รักษาหาย